• หน้าแรก
  • งานวิจัย
    • กรุงเทพมหานคร
    • ภาคเหนือ
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    • ภาคกลาง
    • ภาคใต้
  • กลุ่มงานวิจัยที่น่าสนใจ
    • กลุ่มงานวิจัยทั่วไป
    • กลุ่มงานวิจัยผ้า
    • กลุ่มงานวิจัยวัฒนธรรมวัฒนธรรมชนชาติไท และมรดกร่วมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • วิจัยวัฒนธรรมแห่งชาติ
  • วารสารวิจัยทางวัฒนธรรม
  • พัฒนาองค์ความรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
Print

สภาพการจ้างชายขายบริการและกระบวนการแรงงานสัมพันธ์

ปี
พ.ศ. ๒๕๔๐
กลุ่มงาน
กลุ่มงานวิจัยกรุงเทพมหานคร | งานวิจัย
ภาค
กรุงเทพมหานคร
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
รหัส
กท ๐๐๙
จำนวน
๒๐๕ หน้า
PDF
(231 Hits)
บทคัดย่อ

                การศึกษาเรื่อง “สภาพการจ้างชายขายบริการและกระบวนการแรงงานสัมพันธ์” มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบคำถามดังนี้ คือ

                (๑) สภาพรายละเอียดเชิงประชากรของชายขายบริการ

                (๒) สภาพการจ้างของชายขายบริการ และ

                (๓) กระบวรการแรงงานสัมพันธ์

                การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสังเกต และการสัมภาษณ์ จากชายขายบริการ ๑๔ คน จากสถานบริการ ๔ แห่ง มีอายุระหว่าง ๑๘-๒๗ ปี ใช้เวลาในการเก็บข้อมูลประมาณ ๑ ปี

                ผลการศึกษามีดังนี้

                ๑. การตัดสินใจมาเป็นชายขายบริการเกิดขึ้นจากรายได้ที่สูงและรวดเร็ว ชายขายบริการมักมาจากครอบครัวที่ยากจน มีการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญา ชายขายบริการมีการใช้ภาษา ความเชื่อ การดำเนินชีวิตที่แตกต่างจากคนทั่วไป ก่อนมาขายบริการมีประสบการณ์ทางเพศที่หลากหลาย

                ๒. ชายขายบริการทำงานโดยไม่มีสัญญาจ้างหรือข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเพียงการตกลงด้วยวาจาและรับทราบกันระหว่างนายจ้างและชายขายบริการเท่านั้น สภาพการจ้างของชายขายบริการมีแบบอย่างเฉพาะแตกต่างจากสภาพการจ้างของสถานประกอบการทั่วไป แต่ชายขายบริการไม่มีบทบาทในกระบวนการกำหนดสภาพการจ้าง โดยนายจ้างเป็นผู้กำหนดเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้นสภาพการจ้างจึงเอื้อประโยชน์ต่อนายจ้างหรือสถานบริการ

                ๓. กระบวนการแรงงานสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับการบริหารบุคลากร เป็นหน้าที่ของเจ้าของสถานบริการเนื่องจากไม่มีฝ่ายบุคคลและไม่มีการกำหนดแผนงานหรือนโยบายการบริหารที่ชัดเจน ในกระบวนการสรรหาบุคลากรนั้น พบว่าขั้นตอนในการสมัครเป็นชายขายบริการไม่มีความซับซ้อน แต่มีการคัดเลือกที่เป็นวิธีการเฉพาะผู้ที่ทำหน้าที่คัดเลือกคือ ผู้บริหารสถานบริการ เมื่อเริ่มทำงาน การขัดเกลาเชิงอาชีพจะเกิดขึ้นโดยผ่านตัวผู้บริหาร เพื่อน และลูกค้าที่มาเที่ยว การสิ้นสุดสภาพลูกจ้างมักเกิดขึ้นในรูปแบบของการหยุดหายไปเฉย ๆ ไม่มีการแจ้งล่วงหน้า ขณะที่การไล่ออกเกิดขึ้นน้อยมาก แต่ชายขายบริการมักเปลี่ยนหรือย้ายสถานบริการอยู่บ่อย ๆ

  • Voting
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    (1 vote)
  • Hits
    2778 views

มี 18 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์